บทคัดย่อ
ลำต้นปาล์มนํ้ามันเป็นวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรที่มีองค์ประกอบของลิกโนเซลลูโลสปริมาณสูงเหมาะสำหรับการใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล การปรับสภาพชีวมวลลำต้นปาล์มนํ้ามันด้วยตัวทำละลายทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยด้วยเอนไซม์ งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับสภาพลำต้นปาล์มนํ้ามันด้วยเอทานอลร่วมกับกรดซัลฟิวริก โดยศึกษาความเข้มข้นของกรดซัลฟิวริกร้อยละ 1-3 เอทานอลร้อยละ 40-60 และอุณหภูมิ 170-190 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการย่อย 30 นาที ผลการทดลอง พบว่า การปรับสภาพด้วยกรดซัลฟิวริกที่ความเข้มข้น ร้อยละ 3 ร่วมกับเอทานอลร้อยละ 50 ที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส ได้ปริมาณชีวมวลหลังการปรับสภาพกลับ คืนมาร้อยละ 66.1 สามารถกำจัดลิกนินและไซโลสได้ร้อยละ 18.2 และ 93.9 ตามลำดับ เมื่อย่อยชีวมวลหลังการ ปรับสภาพด้วยเอนไซม์เซลลูเลสที่ความเข้มข้น 15 FPU/กรัมเซลลูโลส ร่วมกับเอนไซม์ ß-glucosidase ที่ความเข้มข้น 30 CBU/กรัมเซลลูโลส สามารถเปลี่ยนเซลลูโลสเป็นกลูโคสได้ร้อยละ 100 ภายในวลา 24 ชั่วโมง
Abstract
Oil palm trunk (OPT) an abundant agriculture waste was evaluated as an alternative lignocellulosic biomass resource for bioethanol production. Organosolv pretreatment was applied to the OPT to enhance its enzymatic saccharification. The pretreatment conditions were optimized through a designed experiment within the initial H2SO4 concentrations 1-3% (w/w), 40-60% Ethanol and 170-190ºC for 30 min. The results indicated that 3% H2SO4, 50% Ethanol at 170ºC, the recoveries of biomass was 66.1%. Organosolv pretreatment removed were 18.2% lignin and 93.9% xylose. OPT pretreated for enzymatic hydrolysis with a cellulase loading of 15 FPU/g cellulose with ß-glucosidase (30 CBU/g cellulose), the cellulose to glucose conversion yields was 100% at 24 h.
organoslov-pretreatment-of-oil-palm-trunk-for-enzymatic-hydrolysis