Skip to content

Welcome

Business hours 08:30 - 16:30 on business days and hours. Saturday-Sunday from 08:30 - 16:30 according to the academic calendar.

The Dean of the Faculty of Science and Technology's office is located in the Faculty of Science and Technology building. Surat Thani Rajabhat University 272 Moo 9, Khun Thale Subdistrict, Mueang District, Surat Thani Province 84100.

Get In Touch

Email: sci@sru.ac.th
Phone: 077-913-366
Address: 272 Moo 9, Khun Thale Subdistrict, Mueang District, Surat Thani Province 84100

Our Location

รายงานผล ITA O30

รายงานผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

หน่วยงาน : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประเด็น/เรื่อง : การติดตาม เสนอแนะ และประเมินผลงานของคณะ

ข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม คณะกรรมกรรมการประจำคณะ จำนวน 5 คน

                             คณะกรรมกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของคณะ จำนวน 5 คน 

                             จากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่าง ๆ

กิจกรรมการมีส่วนร่วม : (ถ้ามี)

       คณะกรรมกรรมการติดตาม เสนอแนะ และประเมินผลงานของคณะและหลักสูตร โดยดำเนินการติดตาม และเสนอแนะแนวทางการบริหารงานของคณะ ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติตามผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของคณะและหลักสูตรจำนวน 15 หลักสูตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และปีการศึกษา 2564 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 และ วันที่ 26 ธันวาคม 2565

ผลจากการมีส่วนร่วม

       คณะได้ทราบถึงจุดที่ควรพัฒนา ข้อเสนอแนะ และแนวทางเสริมความเข้มแข็งของคณะทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และด้าน  การบริหารจัดการ

 

การดำเนินงาน จุดที่ควรพัฒนา/ข้อเสนอแนะ จุดแข็ง/แนวทางเสริม
1. การผลิตบัณฑิต 1. คณะ ควรมีการจัดทำคู่มือในการให้คำปรึกษาแก่อาจารย์ที่ปรึกษาในคณะ เพื่อให้มีแนวปฏิบัติในการให้คำปรึกษาในทิศทางเดียวกัน
2. คณะ ควรมีการปรับปรุงเครื่องมือและรูปแบบในการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกทั้งปริมาณและคุณภาพมากขึ้นเพื่อนำไปพัฒนาบริการแก่นักศึกษา โดยกำหนดให้ใน 1 ปี การศึกษาควรมีการประเมิน 2 ครั้ง
3. คณะ ควรมีการจัดกิจกรรมเสริมต่างๆ ให้นักศึกษาที่ขาดการเรียนรู้และประสบการณ์ในช่วงเรียนออนไลน์ในปี 2564
4. คณะ ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อ Re-skill, Up-skill และ New-skill ให้กับศิษย์เก่าผ่านการบริการวิชาการ หรือหลักสูตร    ระยะสั้น หรือปรับกิจกรรมเป็นรูปแบบออนไลน์
5. จากจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นในคณะ คณะควรมีการเตรียมความพร้อมในแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาให้มีความทันสมัย และเพียงพอ
6. คณะ ควรเพิ่มจำนวนและคุณภาพของกิจกรรมส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ โดยอาจมีการส่งเสริมและช่วยเหลือเป็นรายบุคคล เพื่อเพิ่มจำนวนอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด
7. คณะควรพัฒนากระบวนการขับเคลื่อนให้นักศึกษามีทักษะการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมตามศาสตร์หรือบูรณาการศาสตร์
1. คณะ มีอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐาน (ร้อยละ 46.67) ในศาสตร์ที่หลากหลาย ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และคอมพิวเตอร์ จึงควรใช้ศักยภาพของอาจารย์สร้างผลงานคุณภาพในมิติอื่นๆ ให้เพิ่มมากขึ้น เช่น ผลงานวิจัยคุณภาพสูง พัฒนาหลักสูตร Up-skill, Re-skill, New-skill ในระบบคลังหน่วยกิต รองรับการจัดการศึกษาในทุกช่วงวัย และใช้เป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับคณะในอีกแนวทางหนึ่ง
2. การวิจัย 1. ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการขอทุนวิจัยจากภายนอกสถาบันให้เพิ่มมากขึ้น การเผยแพร่ผลงานวิจัยควรเผยแพร่ในระดับค่าน้ำหนักคะแนนที่เพิ่มมากขึ้น 1. มีเครือข่ายทางวิชาการในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย ทั้งนี้ ควรแสวงหาเครือข่ายทางวิชาการใหม่ๆ เพื่อสร้างความร่วมมือในการทำวิจัย การเผยแพร่ผลงานของอาจารย์ ตลอดจนการร่วมมือในการจัดหรือเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมนำเสนอผลงานวิชาการของอาจารย์และนักวิจัยอย่างต่อเนื่อง
2. มีผลงานของอาจารย์ที่เข้าสู่กระบวนการขอจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรจำนวน 8 รายการ ทั้งนี้ควรส่งเสริมให้อาจารย์มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลสู่อาจารย์ที่มีผลงานของคณะและสนับสนุนให้มีการสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
3. คณะมีจำนวนผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์จำนวนมาก ทั้งนี้ ควรมีระบบการกำกับ ติดตามการนำผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
3. การบริการวิชาการ 1. คณะ ควรกำหนดตัวชี้วัดแผนบริการวิชาการที่เป็นตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์และผลกระทบเพื่อวัดความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับชมชนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง
2. คณะ ควรกำหนดแผนหรือแนวทางในการติดตามการใช้ประโยชน์จากการดำเนินการบริการวิชาการและติดตามการใช้ประโยชน์จากแผนดังกล่าว
3. คณะ ควรส่งเสริมการบริการวิชาการในเชิงหารายได้เพิ่มมากขึ้น อาทิ การอบรมหลักสูตรระยะสั้น โดยให้สามารถนำไปเทียบหน่วยกิตผ่านระบบคลังหน่วยกิตได้
4. คณะ ควรส่งเสริมการบริการวิชาการที่สร้างนวัตกรรมอันนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับชุมชนสังคม
 
4. ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย   1. คณะควรส่งเสริมการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมที่บูรณการกับพันธกิจอื่นให้ครอบคลุมทุกพันธกิจ
2. ในการบูรณาการงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับด้านบริการวิชาการ ควรพัฒนาไปสู่การต่อยอดสร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์ให้กับชุมชนท้องถิ่น
3. คณะ ควรนำโครงการ/กิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมของหลักสูตรไปใส่ไว้ในแผนของคณะเพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวชี้วัดของแผนงาน
5. การบริหารจัดการ 1. คณะ ควรจัดระบบและเพิ่มความเข้มข้นในการดำเนินงานด้านสหกิจศึกษาและ CWIE ดังนี้
(1) เพิ่มจำนวนหลักสูตรที่ดำเนินการ CWIE ให้เพิ่มมากขึ้น (ปัจจุบันร้อยละ 53.33)
(2) การจัดทำแผน CWIE ที่แสดงรายละเอียดครบถ้วน ทั้ง CWIE ระดับรายวิชา และระดับหลักสูตรและปรับเพิ่มตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
(3) ถอดบทเรียนการดำเนินงานในหลักสูตรที่โดดเด่น เพื่อต่อยอดเป็นแนวปฏิบัติที่ดี
2. คณะ ควรสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือในด้านการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาอาจารย์ การพัฒนานักศึกษา ตามความบริบทและจุดเน้นของคณะ ทั้งความร่วมมือในระดับหลักสูตร ระดับคณะ
3. คณะ ควรวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยในมิติรายรับรายจ่ายของแต่ละหลักสูตรจากหน่วยจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า 
4. คณะ ควรจัดทำแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร เพื่อการกำกับติดตามผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมไปยังการบริหารบุคลากรตั้งแต่ด้านการรับ การพัฒนา การธำรงรักษา และการเกษียณอายุ
5. คณะ ควรทบทวนการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงโดยวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยง ที่เน้นปัจจัยเสี่ยงภายนอกซึ่งไม่แน่นอนและควบคุมตามระบบ COSO
6. คณะ ควรมีกระบวนการจัดการความรู้ให้ครอบคลุมขั้นตอน
(1) การบ่งชี้ความรู้
(2) การสร้างและแสวงหาความรู้
(3) การจัดเก็บให้เป็นระบบ
(4) การประมวลและสกัดความรู้
(5) การเข้าถึงความรู้
(6) การแบ่งปันความรู้ และ  
(7) การเรียนรู้ เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ในแต่ละประเด็นความรู้ส่งผลต่อเป้าหมายของคณะอย่างแท้จริง
 

การนำผลการมีส่วนร่วมไปพัฒนา/ปรับปรุงการดำเนินงาน :

       1. คณะ นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด ไปวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมหรือโครงการตามข้อเสนอแนะ พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามกรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ (Improvement Plan)

       2. คณะ เสนอแผนพัฒนาคุณภาพ (Improvement Plan) ต่อคณะกรรมกรรมการประจำคณะ และรายงานผลการดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง

เอกสารประกอบการดำเนินงาน :

       1. รายงานการประเมินตนเองของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564

       2. ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Improvement Plan) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

       3. คำสั่งแต่งตั้งการคณะกรรมกรรมการประจำคณะ

       4. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2564

ผู้รายงาน : ดร.พรทิพย์ วิมลทรง ตำแหน่ง : รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา

วัน/เดือน/ปี : 18 เมษายน 2566

 

Back To Top