Skip to content

Welcome

Business hours 08:30 - 16:30 on business days and hours. Saturday-Sunday from 08:30 - 16:30 according to the academic calendar.

The Dean of the Faculty of Science and Technology's office is located in the Faculty of Science and Technology building. Surat Thani Rajabhat University 272 Moo 9, Khun Thale Subdistrict, Mueang District, Surat Thani Province 84100.

Get In Touch

Email: sci@sru.ac.th
Phone: 077-913-366
Address: 272 Moo 9, Khun Thale Subdistrict, Mueang District, Surat Thani Province 84100

Our Location

นักศึกษา สาขาการจัดการภัยพิบัติ ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี คว้ารางวัล “ชนะเลิศ” การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “การวิเคราะห์ความเสี่ยงของสถานการณ์การเกิดน้ำท่วมฉับพลัน”

​เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 อาจารย์และนักศึกษาสาขาการจัดการภัยพิบัติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เข้าร่วมการประชุมวิชาการเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย ครั้งที่ 2 ระดับชาติและนานาชาติ ภายใต้หัวข้อ “ความยืดหยุ่นของภัยพิบัติเพื่อสังคมที่ดีขึ้น” The 2 nd National and International TNDR Conference on Be Better : Disaster Resilience for Better Society” จัดโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับมหาวิทยาลัยในเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมนเรศวรมหาราช (KNECC) มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี ดร.พิจิตต รัตกุล ประธานเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) เป็นประธานการประชุม เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างเครือข่าย TNDR ในการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน ผลิตผลงาน พัฒนาหลักสูตร ต้านภัยพิบัติ ตามพันธกิจหลัก 4 ประการ ที่เรียกว่า ICCC (ไอทริปเปิ้ลซี) ได้แก่ Innovation, Collaboration, Communication และ Capacity Building โดยมี 17 มหาวิทยาลัยเครือข่าย TNDR ทั่วประเทศเข้าร่วม
กิจกรรมในงาน มีการเสวนาพิเศษ 2 เรื่อง คือ 1. ระบบนิเวศของการสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพานิชย์ และ 2. โลกเดือด-สุดขั้วภัยพิบัติ จัดการน้ำอย่างไรให้รอด รวมทั้งการนำเสนอผลงานวิจัยทั้งแบบ Oral Presentation และ Poster Presentation
และในโอกาสนี้ นางสาวบัณฑิตา อุปลา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาการจัดการภัยพิบัติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรส. คว้ารางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานวิจัยแบบ Oral Presentation เรื่อง การวิเคราะห์ความเสี่ยงของสถานการณ์การเกิดน้ำท่วมฉับพลัน กรณีศึกษา พื้นที่ท้ายเขื่อนรัชชประภา อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Back To Top