โครงการความร่วมมือทางวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บริษัทศรีสุบรรณฟาร์ม จำกัด
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และบริษัทศรีสุบรรณฟาร์ม จำกัด ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอันเป็นอาชีพที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีและมีผลต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมและการศึกษาของประเทศจึงมีความเห็นสอดคล้องกันการประสานความร่วมมือในโครงการพัฒนาการเรียนการสอนและคุณภาพบัณฑิตในหลักสูตรทางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และร่วมมือกันพัฒนาองค์กรความรู้ทางด้านการเพาะเลี้ยงเพื่อประโยชน์ของทั้งสององค์กร อีกทั้งยังเป็นประโยชน์แก่ชุมชนและประเทศชาติ

National Taiwan Ocean University, Taiwan
In order to advance friendly relations between Suratthani Rajabhat university, Thailand and National Taiwan Ocean University, Taiwan join in the following agreement on the promotion of education and academic exchanges between the two universities.

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการฉบับนี้ จัดทำขึ้น เพื่อแสดงถึงความตกลงร่วมกัน ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกับโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี ด้วยความประสงค์ที่จะร่วมมือแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ ในการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อพัฒนามาตรฐานและคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

โรงเรียนเทพมิตรศึกษา
บันทึกข้อตกลงฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างโรงเรียนเทพมิตรศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีและคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 จากเจตจำนงร่วมกันในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา

Universiti Sains Malaysia
M-Community GreenEve2Peace (GE2P) for Fishing Community is a project with the collaboration of Surattani Rajabhat University and Khun Talay Fishing Community which aimed to enhance aquaculture management and preservation of fresh water lake in Surattani, Thailand. GE2P project team has adapted the GE2P system to tailor to the requirement of local fishing community. The system has started to benefit the fishing community since March 2012.
GE2P incorporates technology into the management and preservation of aquatic life. By using web and mobile technology, GE2P provide services that utilize the Short Message Services (SMS) gateway to disseminate information to the Khun Talay Fishing Community on the fishing activities such as date, time to feed fihes and the correct strategy to fishing based on the tide. GE2P also provides service that collects information on weather from various sources via the net to produce a reliable weather forecast. Based on the forecast, the system adminstrator in Khun Talay Fishing Community will formulate advice on fishing activities and broadcast it via SMS as well as the web. By incorporating such technologies, communication breakdowns are resolved and decision making on fishing activities are now done in a more appropriate and intelligent manner. Thus, it is hoped that this project could improve, thereby ensure the sustainability of aquaculture management.
The mission of this project is to globalize M-Community GreenEve2Peace for Fishing Community by providing proper education, information dissemination and promoting services to the fishing community to improve the quality of life through productive aquaculture and continuous local ecosystem conservation. In addition, the goal of this project is to establish links between the communities and to encourage the participation of fishing communities, fishing related companies and authorities from various countries in Southeast Asia.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ มหาวิทยาลัยผู้ร่วมมือ ตกลงร่วมมือในโครงการพัฒนาการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายใต้ขอบเขตความร่วมมือและข้อกำหนดตามบันทึกข้อตกลงนี้ โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มอบหมายให้คณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งต่อไปในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “คณะศึกษาสาตร์ มหาวิทยาลัยขอบแก่น” และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้มอบหมายให้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหน่อยงานภายใต้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งต่อไปในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี” ดำเนินการตามความร่วมมือในโครงการพัฒนาการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง

บันทึกข้อตกลงร่วมฉบับนี้จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557 เป็นบึนทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันของ สาขาวิชาฟิสกิส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คณบดีและผู้แทนจากคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เห็นชอบร่วมกันในการจะนำองค์ความรู้ทางวิชาการ การพัฒนากลไกการประกันคุณภาพไปดำเนินการสร้างความแข้มแข็งภายใต้กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการอุดทศึกษา (สกอ.) ให้เกดิผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม “เครือข่ายความร่วมมือ” จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกาาระหว่างสถาบันอุดมศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย ผศ.สมพร โตใจ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาจารย์และนักศึกษา เข้าร่วมนําเสนอผลงานของนักศึกษาในการประชุมวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ครั้งที่ ๒ ประจําปี ๒๕๕๘ และได้เซนต์ลงนามความร่มืือ MOU
โดยมีมหาลัยร่วมเข้าเซนต์บันทึกความร่วมมือดังนี้

  • มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรอุดมศักดิ์

ตำบลขุนทะเลและตำบลมะขามเตี้ย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ทำบันทึกความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาสุขภาวะชุมชนและโรงเรียน ตำบลขุนทะเลและตำบลมะขามเตี้ย ระหว่างสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนกับตำบลขุนทะเลและตำบลมะขามเตี้ย เพื่อให้บริการวิชาการตามความต้องการของชุมชนและส่งเสริมสุขภาวะของโรงเรียนและชุมชนให้เป็นไปตามเกณฑ์และตัวชี้วัดตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี
บันทึกข้อตกลงฉบับนี้จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑ เป็นบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี โดยทั้ง ๒ ฝ่าย ได้มีข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการดังต่อไปนี้

  • สนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการระหว่างกัน เช่น การเป็นวิทยากร การฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา หรือด้านอื่น ๆ ตามที่เห็นร่วมกัน
  • สนับสนุนทรัพยากรในการทำกิจกรรมทางวิชาการตามความเหมาะสม
  • ร่วมมือทางด้านอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละฝ่าย

โรงเรียนเขาพระนิ่ม

บันทึกข้อตกลงฉบับนี้จัดทำขี้นเมื่อวันที่ ๙ เดือน สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒ เป็นบันทึกข้อตกลงความ ร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับ โรงเรียน วัดเขาพระนิ่ม โดยทั้ง ๒ ฝ่าย ได้มีข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการดังต่อไปนี้

  • ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมใช้หลักวิธีการของ GLOBE
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย
  • ประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับสถานศึกษาใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ได้รับโอกาสและพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
  • ร่วมมือทางด้านอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละฝ่าย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ลงนามความร่วมมือ (MOU) ร่วมกัน 2 สถาบัน เพื่อผลิตผู้นำยุคใหม่ตาม โครงการผู้นำความคิดเพื่อความตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๖๓

บริษัท ไทย ฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) แบบออนไลน์ ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและโภชนาการ) กับ บริษัท ไทย ฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งลงนามโดย ผศ.ดร.ฐิติพงศ์ เครือหงส์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ นายเพชร นันทวิสัย ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยวัตถุประสงค์ในการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ คือ เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการด้านการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร (food) และที่ไม่ใช่อาหาร (non-food) ร่วมกันใช้ทรัพยากรและความสามารถตามภารกิจหลักของทั้งสองหน่วยงานอันก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนับสนุนการใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งห้องปฏิบัติการในการปฏิบัติภารกิจร่วมกัน ตลอดจนสร้างความร่วมมืออื่นๆ ที่เป็นเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานทั้งสองฝ่ายตามเห็นสมควร

Faculty of SCI@SRU