Abstract
The using of Lactic acid bacteria from gastrointestinal tract of Sea bass (Lates calcarifer)in feed of Nile tilapia (Oreochromis niloticus)culture was conducted to examine on growth rate survival rate and resistance to Streptococcussp. inNile tilapia.The experiment 3.0X107CFU/gof Lactic acid bacteria with the concentration of 0, 1, 3 and 5 g/kgof fish feed were used to feed for 4 weeks. They were laid out in completely randomized design with 3 replications. The results showed that the concentration of 1g/kg was the best treatment in increasing weight(18.47±0.42grams)which was significantly different (p≤0.05)from other treatments. There was no significant difference in survival rate. The best lactic acid bacteria 3 g/kgcan inhibit Streptococcussp.
บทนำ
ปัจจุบันอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีความสำคัญเนื่องจากจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ปริมาณความต้องการบริโภคอาหารเพิ่มมากขึ้นด้วยในขณะที่ปริมาณสัตว์น ้าในธรรมชาติลดน้อยลง การเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าจึงมีบทบาทสำคัญในการที่จะผลิตอาหารให้เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยแล้วปลาเป็นสินค้าสัตว์น ้าที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอันดับสองรองจากกุ้งทะเลจากข้อมูลของกลุ่มเศรษฐกิจการประมง กรมประมง ประจำปี 2560 รายงานว่าช่วง 6เดือนแรกของปี 2560 ผลผลิตปลานิลมีปริมาณ 94,990 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี2559 ถึงร้อยละ 4.7และมีปริมาณการส่งออกสูงถึง 3,108.7 ตัน คิดเป็นมูลค่า 189.5 ล้านบาทโดยมีตลาดหลักคือประเทศในตะวันออกกลาง คิดเป็นร้อยละ 31.9 โดยนิยมบริโภคเป็นปลานิลแช่แข็งทั้งตัว คิดเป็นร้อยละ 73.7การเลี้ยงปลานิลในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงแบบหนาแน่น (Intensive culture) โอกาสที่ปลาเผชิญกับความเครียดและอ่อนแอจึงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปลาติดเชื้อและเกิดโรคได้ง่ายโรคส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย เช่น Streptococcus iniae, Streptococcus agalactiaeเป็นต้น เกษตรกรแก้ปัญหาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง แต่ปัญหาที่ตามมาคือการปนเปื้อนหรือการตกค้างของยาปฏิชีวนะในตัวปลาซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แนวทางที่จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้คือการกระตุ้นให้ปลามีภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับเชื้อก่อโรคได้ในอดีตได้มีการใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะเพื่อแก้ปัญหาเรื่องโรคระบาดแต่กลับส่งผลให้เชื้อโรคเกิดการดื้อยาและเกิดการตกค้างของยาปฏิชีวนะในสัตว์น ้าและสิ่งแวดล้อมได้ทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคอีกด้วยปัจจุบันจึงได้มีการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยนำจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มาใช้ในการควบคุมการเลี้ยงอาศัยหลักการควบคุมทางชีวภาพโดยใช้สิ่งมีชีวิตเพื่อควบคุมสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งไม่ให้เพิ่มจำนวนหรือสร้างความเสียหายเรียกว่าโพรไบโอติก(Probiotics) การใช้โพรไบโอติกจึงเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ได้รับความนิยมมากในการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าในปัจจุบัน(Gatesoupe, 1999; Gomes-Gil et al., 2000)เนื่องจากหลักการดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและผู้บริโภคอีกทั้งช่วยในการเจริญเติบโต ต้านทานโรคมีอัตราการรอดสูง ทั้งนี้มีการรายงานการใช้โพรไบโอติกที่มีศักยภาพในการนำมาผสมอาหารปลาแล้วหลายชนิดได้แก่ Bacillussp., Lactobacillus brevis, Lactobacillus collinoides, Lactobacillus coryniformis, Lactobacillus farciminis, Psychrobacter namhaensisและ Pseudomonas fluorescens(Suwan and Chitmanat, 2017)และการใช้โพรไบโอติกในการเสริมอาหารสัตว์จะเป็นการลดปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีอีกด้วยอีกทั้งสามารถสร้างสารยับยั้งจุลินทรีย์ชนิดอื่นรวมทั้งผลิตเอนไซม์ได้หลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการย่อยอาหารและการเจริญเติบโตต่อไป(Rodmongkoldee, et al., 2017)
effect-of-using-lactic-acid-bacteria-on-bacterial-resistance-streptococcus-sp-in-tilapia