งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบที่สกัดจากส่วนต่างๆ ของหม่อนที่มีผลต่อการยับยั้งเชื้อราที่คัดแยกได้จากใบทุเรียน โดยสามารถคัดแยกเชื้อราจากใบทุเรียน จานวน 2 ชนิด ได้แก่ เชื้อรา Phyllosticta sp. และ Colletotrichum sp. การสกัดสารสกัดหยาบจากใบ ผล รากและลาต้นของหม่อน ด้วยตัวทาละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 เและเฮกเซน พบว่าร้อยละของสารสกัดต่อน้าหนักแห้งที่สกัดด้วยเอทานอล ความเข้มข้นร้อยละ 95 เท่ากับ 17.45, 21.53, 5.52 และ 5.51 กรัม ตามลาดับ และร้อยละของสารสกัดต่อน้าหนักแห้งที่สกัดด้วยเฮกเซน เท่ากับ 18.35, 29.29, 4.67 และ 4.67 กรัม ตามลาดับ จากนั้นทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดด้วยวิธี Paper Disc Diffusion ที่ระดับความเข้มข้น 300, 600 และ 900 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่าสารสกัดจากผล ราก และลาต้น ของหม่อนที่สกัดด้วยตัวทาละลายเอทานอความเข้มข้นร้อยละ 95 สามารถยับยั้งเชื้อรา Phyllosticta sp. ที่ระดับความเข้มข้น 600 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส เท่ากับ 1.29 ± 1.13, 1.86± 0.49 และ 2.87 ± 0.29 มิลลิเมตร ตามลาดับ มีร้อยละการยับยั้งดีที่สุดเท่ากับร้อยละ 35.07 – 82.09 ส่วนสารสกัดจากรากและลาต้นของหม่อนที่สกัดด้วยตัวทาละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 สามารถยับยั้งเชื้อรา Colletotrichum sp. ที่ระดับความเข้มข้น 600 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส เท่ากับ 2.37± 0.73 และ 1.86± 1.03 มิลลิเมตร ตามลาดับ มีร้อยละการยับยั้งดีที่สุดเท่ากับร้อยละ 10.10 – 24.24 ส่วนสารสกัดที่สกัดจากใบหม่อนไม่มีการยับยั้งเชื้อรา ผลของสารสกัดที่สกัดด้วยตัวทาละลายเฮกเซนของหม่อนไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราทั้ง 2 ชนิด
Welcome
Business hours 08:30 - 16:30 on business days and hours. Saturday-Sunday from 08:30 - 16:30 according to the academic calendar.
The Dean of the Faculty of Science and Technology's office is located in the Faculty of Science and Technology building. Surat Thani Rajabhat University 272 Moo 9, Khun Thale Subdistrict, Mueang District, Surat Thani Province 84100.