Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาและรวบรวมแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อ่าวบ้านดอน
2) เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการออกแบบระบบสารสนเทศสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับพื้นที่อ่าวบ้านดอน
3) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศที่สอดคล้องกับบริบทการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนในพื้นที่อ่าวบ้านดอน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพกับวิธีวิจัยเชิงปริมาณวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้ศึกษาข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ใช้แบบสอบถาม สนทนากลุ่ม และการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ส่วนวิธีวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามตรวจสอบหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)กับผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศ และแบบสอบถามความพึงพอใจกับผู้ใช้ระบบสารสนเทศ พื้นที่ศึกษา ได้แก่ อำเภอท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง พุนพิน เมือง กาญจนดิษฐ์ และดอนสัก
ผลการวิจัยพบว่า อ่าวบ้านดอนเป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่นด้านทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน โบราณสถาน โบราณวัตถุ ฯลฯ ชุมชนในพื้นที่อ่าวบ้านดอนได้มีการรวมกลุ่มเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเกือบทุกชุมชน และร่วมกันคัดกรองแหล่งท่องเที่ยวซึ่งมีทั้งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเลการท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการท่องเที่ยวทางเกษตรหลังจากนั้นนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วมาออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อ่าวบ้านดอนโดยใช้ Adobe Photoshopในการออกแบบและตกแต่งภาพ และใช้ภาษา PHP ในการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านเนื้อหาภายในระบบสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนสำหรับนักท่องเที่ยวประกอบด้วยเนื้อหาอ่าวบ้านดอนทั้ง 7 อำเภอ โดยมีข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหารโปรแกรมนำเที่ยว และส่วนการสนับสนุนการตัดสินใจท่องเที่ยวเบื้องต้น ส่วนที่ 2 สำหรับผู้ดูแลระบบ ประกอบด้วย ส่วนของการจัดการอัลบั้มรูป ข้อมูลอำเภอ แหล่งท่องเที่ยวที่พัก ร้านอาหาร โปรแกรมนำเที่ยว และกลุ่มนำเที่ยว ต่อจากนั้นเผยแพร่ระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อ่าวบ้านดอน ผ่าน URL : travel.sru.ac.th
Abstract
The purpose of this research was: 1) To study and collect tourist attractions in the Bandon Bay, SuratThani province 2) To study patterns and guidelines in designing and developing a tourism information system which is suitable for Bandon Bay; and 3) To develop an information system that is consistent with the context of community tourism management for promotion of tourism in Bandon Bay, SuratThani. This research used qualitative and quantitative research. Qualitative research was used for studying the document, interview using questionnaire, focus group and participatory action. Quantitative research was used to evaluate the index of item objective congruence (IOC) with information systems specialist and satisfaction questionnaire for information system users. The study areas were in Thachana district, Chaiya district, Thachang district, Phunphin district, Mueang district, Kanchanadit district and Donsak district.
The results of this research were as follows: Bandon Bay is an area of outstanding tourism resources, including natural attractions, tourist attractions, communities, historic sites, antiquities etc. Most communities in Bandon Bay had set up tour groups to provide community tourism services and jointly screens the attractions within their own community, including marine tourism, geological tourism, ecotourism and agricultural tourism. The analysed data was used to design and develop the Information System. The system was developed by Adobe Photoshop and PHP language. The content is divided into two parts: Part 1 (for tourists) include content about Bandon bay in all seven districts, tourism information, accommodation, restaurants, travel programs and a section for providing basic information for decision support while part 2 (for administrators) includes album management, district information, attractions, accommodation, restaurants, tour programs and tour groups. The dissemination of information systems for promotion the tourism in Bandon Bay of Suratthani is via URL : travel.sru.ac.th.
The Development of Information System for Tourism Promotion by Community Participation in Bandon Bay, Suratthani