Skip to content

ยินดีต้อนรับ

เวลาทำการ 08:30 - 16:30 น. ในวันและเวลาราชการ วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08:30 - 16:30 น. ตามปฏิทินการศึกษา

สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่ที่ อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 272 หมู่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84100

ติดต่อเรา

อีเมล : sci@sru.ac.th
โทรศัพท์ : 077-913-366
ที่ตั้ง : อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 272 หมู่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84100

จากการนำชิ้นส่วนใบ กาบใบ และยอดอ่อนของต้นหยาดน้ำค้างอายุ 1 เดือน มาเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร ½ Murashige and Skoog (½MS) ที่มีการเติมและไม่เติมผงถ่านกัมมันต์ร่วมกับสารควบคุมการเจริญเติบโตชนิดต่างๆ ประกอบด้วย benzyl adenine (BA) kinetin (KN) indole acetic acid (IAA) และ -naphthalene acetic acid (NAA) เข้มข้น 0 0.25 0.50 0.75 และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบการชักนำให้เกิดยอดใหม่ ใบ และรากในทุกชิ้นส่วนของต้นหยาดน้ำค้างที่วางเลี้ยงบนอาหารที่เติมผงถ่านกัมมันต์ร่วมกับสารควบคุมการเจริญเติบโตทุกชนิด และบนอาหารที่ไม่เติมผงถ่านกัมมันต์ร่วมกับ KN ทั้งนี้พบว่า ชิ้นส่วนยอดอ่อนที่วางเลี้ยงบนอาหารที่เติมผงถ่านกัมมันต์ร่วมกับ KN เข้มข้น 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้จำนวนยอดใหม่ (13.44 ยอดต่อชิ้นส่วน) และใบ (120.67 ใบต่อชิ้นส่วน) สูงสุด สำหรับการชักนำรากพบว่า ชิ้นส่วนยอดอ่อนที่วางเลี้ยงบนอาหารที่เติมผงถ่านกัมมันต์ร่วมกับ NAA เข้มข้น 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้จำนวนรากสูงสุด (11.11 รากต่อชิ้นส่วน) และจากการศึกษาอิทธิพลของวัสดุปลูกจากดินชนิดต่างๆ ต่ออัตราการรอดชีวิตของต้นกล้าของต้นหยาดน้ำค้างที่ได้จากการเพาะเลี้ยงมาอนุบาลปลูกในกระถาง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า การใช้พีทมอสกับดินแดงในสัดส่วน 1:1 ให้อัตราการรอดชีวิตสูงสุด (69.44 เปอร์เซ็นต์)
 
The leaf, leaf sheath and young shoot explants from one-month-old Drosera burmannii Vahl. were cultured on solidified half-strength Murashige and Skoog (½ MS) medium with and without activated charcoal (AC) and supplemented with plant growth regulators (PGRs) including benzyl adenine (BA), kinetin (KN), indole acetic acid (IAA) and -naphthalene acetic acid (NAA) at the concentrations of 0, 0.25, 0.50, 0.75 and 1.0 mg/l for 8 weeks. The results showed that shoot and root inductions were found in all explants that cultured on the medium supplemented with AC and all PGRs and the medium without AC but supplemented with KN. The best responding explant for shoot induction was young shoot explant that cultured on the medium with AC in the present of KN. It exhibited the highest number of shoots (13.44 shoots/explant) and leaves (120.67 leaves/explant) when KN at the concentration of 1.0 mg/l was added. For root induction, the highest result was detected from culturing young shoot on the medium with AC and 1.00 mg/l NAA (11.11 roots/explant). The influences of different types of soil-based growing media on survival rate of in vitro plants revealed that peat moss with laterite soil (1:1) exhibited the highest survival rate (69.44 %) after 4 weeks of transfering.

vitro-micropropagation-of-drosera-burmannii-vahl

Back To Top