รายงานผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
หน่วยงาน : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประเด็น/เรื่อง : การติดตาม เสนอแนะ และประเมินผลงานของคณะ
ข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม : คณะกรรมกรรมการประจำคณะ จำนวน 5 คน
คณะกรรมกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของคณะ จำนวน 5 คน
จากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่าง ๆ
กิจกรรมการมีส่วนร่วม : (ถ้ามี)
คณะกรรมกรรมการติดตาม เสนอแนะ และประเมินผลงานของคณะและหลักสูตร โดยดำเนินการติดตาม และเสนอแนะแนวทางการบริหารงานของคณะ ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติตามผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของคณะและหลักสูตรจำนวน 15 หลักสูตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และปีการศึกษา 2564 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 และ วันที่ 26 ธันวาคม 2565
ผลจากการมีส่วนร่วม :
คณะได้ทราบถึงจุดที่ควรพัฒนา ข้อเสนอแนะ และแนวทางเสริมความเข้มแข็งของคณะทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และด้าน การบริหารจัดการ
การดำเนินงาน | จุดที่ควรพัฒนา/ข้อเสนอแนะ | จุดแข็ง/แนวทางเสริม |
1. การผลิตบัณฑิต | 1. คณะ ควรมีการจัดทำคู่มือในการให้คำปรึกษาแก่อาจารย์ที่ปรึกษาในคณะ เพื่อให้มีแนวปฏิบัติในการให้คำปรึกษาในทิศทางเดียวกัน 2. คณะ ควรมีการปรับปรุงเครื่องมือและรูปแบบในการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกทั้งปริมาณและคุณภาพมากขึ้นเพื่อนำไปพัฒนาบริการแก่นักศึกษา โดยกำหนดให้ใน 1 ปี การศึกษาควรมีการประเมิน 2 ครั้ง 3. คณะ ควรมีการจัดกิจกรรมเสริมต่างๆ ให้นักศึกษาที่ขาดการเรียนรู้และประสบการณ์ในช่วงเรียนออนไลน์ในปี 2564 4. คณะ ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อ Re-skill, Up-skill และ New-skill ให้กับศิษย์เก่าผ่านการบริการวิชาการ หรือหลักสูตร ระยะสั้น หรือปรับกิจกรรมเป็นรูปแบบออนไลน์ 5. จากจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นในคณะ คณะควรมีการเตรียมความพร้อมในแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาให้มีความทันสมัย และเพียงพอ 6. คณะ ควรเพิ่มจำนวนและคุณภาพของกิจกรรมส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ โดยอาจมีการส่งเสริมและช่วยเหลือเป็นรายบุคคล เพื่อเพิ่มจำนวนอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด 7. คณะควรพัฒนากระบวนการขับเคลื่อนให้นักศึกษามีทักษะการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมตามศาสตร์หรือบูรณาการศาสตร์ |
1. คณะ มีอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐาน (ร้อยละ 46.67) ในศาสตร์ที่หลากหลาย ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และคอมพิวเตอร์ จึงควรใช้ศักยภาพของอาจารย์สร้างผลงานคุณภาพในมิติอื่นๆ ให้เพิ่มมากขึ้น เช่น ผลงานวิจัยคุณภาพสูง พัฒนาหลักสูตร Up-skill, Re-skill, New-skill ในระบบคลังหน่วยกิต รองรับการจัดการศึกษาในทุกช่วงวัย และใช้เป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับคณะในอีกแนวทางหนึ่ง |
2. การวิจัย | 1. ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการขอทุนวิจัยจากภายนอกสถาบันให้เพิ่มมากขึ้น การเผยแพร่ผลงานวิจัยควรเผยแพร่ในระดับค่าน้ำหนักคะแนนที่เพิ่มมากขึ้น | 1. มีเครือข่ายทางวิชาการในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย ทั้งนี้ ควรแสวงหาเครือข่ายทางวิชาการใหม่ๆ เพื่อสร้างความร่วมมือในการทำวิจัย การเผยแพร่ผลงานของอาจารย์ ตลอดจนการร่วมมือในการจัดหรือเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมนำเสนอผลงานวิชาการของอาจารย์และนักวิจัยอย่างต่อเนื่อง 2. มีผลงานของอาจารย์ที่เข้าสู่กระบวนการขอจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรจำนวน 8 รายการ ทั้งนี้ควรส่งเสริมให้อาจารย์มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลสู่อาจารย์ที่มีผลงานของคณะและสนับสนุนให้มีการสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง 3. คณะมีจำนวนผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์จำนวนมาก ทั้งนี้ ควรมีระบบการกำกับ ติดตามการนำผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม |
3. การบริการวิชาการ | 1. คณะ ควรกำหนดตัวชี้วัดแผนบริการวิชาการที่เป็นตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์และผลกระทบเพื่อวัดความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับชมชนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง 2. คณะ ควรกำหนดแผนหรือแนวทางในการติดตามการใช้ประโยชน์จากการดำเนินการบริการวิชาการและติดตามการใช้ประโยชน์จากแผนดังกล่าว 3. คณะ ควรส่งเสริมการบริการวิชาการในเชิงหารายได้เพิ่มมากขึ้น อาทิ การอบรมหลักสูตรระยะสั้น โดยให้สามารถนำไปเทียบหน่วยกิตผ่านระบบคลังหน่วยกิตได้ 4. คณะ ควรส่งเสริมการบริการวิชาการที่สร้างนวัตกรรมอันนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับชุมชนสังคม |
|
4. ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย | 1. คณะควรส่งเสริมการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมที่บูรณการกับพันธกิจอื่นให้ครอบคลุมทุกพันธกิจ 2. ในการบูรณาการงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับด้านบริการวิชาการ ควรพัฒนาไปสู่การต่อยอดสร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์ให้กับชุมชนท้องถิ่น 3. คณะ ควรนำโครงการ/กิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมของหลักสูตรไปใส่ไว้ในแผนของคณะเพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวชี้วัดของแผนงาน |
|
5. การบริหารจัดการ | 1. คณะ ควรจัดระบบและเพิ่มความเข้มข้นในการดำเนินงานด้านสหกิจศึกษาและ CWIE ดังนี้ (1) เพิ่มจำนวนหลักสูตรที่ดำเนินการ CWIE ให้เพิ่มมากขึ้น (ปัจจุบันร้อยละ 53.33) (2) การจัดทำแผน CWIE ที่แสดงรายละเอียดครบถ้วน ทั้ง CWIE ระดับรายวิชา และระดับหลักสูตรและปรับเพิ่มตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย (3) ถอดบทเรียนการดำเนินงานในหลักสูตรที่โดดเด่น เพื่อต่อยอดเป็นแนวปฏิบัติที่ดี 2. คณะ ควรสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือในด้านการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาอาจารย์ การพัฒนานักศึกษา ตามความบริบทและจุดเน้นของคณะ ทั้งความร่วมมือในระดับหลักสูตร ระดับคณะ 3. คณะ ควรวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยในมิติรายรับรายจ่ายของแต่ละหลักสูตรจากหน่วยจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า 4. คณะ ควรจัดทำแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร เพื่อการกำกับติดตามผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมไปยังการบริหารบุคลากรตั้งแต่ด้านการรับ การพัฒนา การธำรงรักษา และการเกษียณอายุ 5. คณะ ควรทบทวนการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงโดยวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยง ที่เน้นปัจจัยเสี่ยงภายนอกซึ่งไม่แน่นอนและควบคุมตามระบบ COSO 6. คณะ ควรมีกระบวนการจัดการความรู้ให้ครอบคลุมขั้นตอน (1) การบ่งชี้ความรู้ (2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (3) การจัดเก็บให้เป็นระบบ (4) การประมวลและสกัดความรู้ (5) การเข้าถึงความรู้ (6) การแบ่งปันความรู้ และ (7) การเรียนรู้ เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ในแต่ละประเด็นความรู้ส่งผลต่อเป้าหมายของคณะอย่างแท้จริง |
การนำผลการมีส่วนร่วมไปพัฒนา/ปรับปรุงการดำเนินงาน :
1. คณะ นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด ไปวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมหรือโครงการตามข้อเสนอแนะ พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามกรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ (Improvement Plan)
2. คณะ เสนอแผนพัฒนาคุณภาพ (Improvement Plan) ต่อคณะกรรมกรรมการประจำคณะ และรายงานผลการดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง
เอกสารประกอบการดำเนินงาน :
1. รายงานการประเมินตนเองของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564
2. ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Improvement Plan) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
3. คำสั่งแต่งตั้งการคณะกรรมกรรมการประจำคณะ
4. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน : ดร.พรทิพย์ วิมลทรง ตำแหน่ง : รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา
วัน/เดือน/ปี : 18 เมษายน 2566